องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว

  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว







สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว

      1.1 ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากอำเภอโชคชัยประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 36 กิโลเมตร

      1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 15,625 ไร่ หรือประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.15 ของพื้นที่อำเภอโชคชัยทั้งหมด (อำเภอโชคชัยมีพื้นที่ประมาณ 328,700 ไร่ หรือประมาณ 525.92 ตารางกิโลเมตร)

      1.3 อาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้

         ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย
  ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งอรุณ อำเภอโชคชัย
  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอน อำเภอปักธงชัย


       1.4. ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบไม่สม่ำเสมอมีความเอียงคล้ายรูปกระทะ ในสภาพพื้นที่ทำนามีโอกาสน้ำท่วมในฤดูฝน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นาเนื่องจากอยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งอยู่ในระดับ 189-193 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำสำคัญได้แก่ ลำมูล และลำพระเพลิง นอกจากนี้ยังมีน้ำจากชลประทานไหลผ่านและมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ บึงพระ (มีพื้นที่ประมาณ 935 ไร่) ซึ่งประชาชนในตำบลใช้น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ในการอุปโภค – บริโภค และใช้ในการเกษตร

       1.5 สมรรถภาพดิน พื้นที่ 80% เป็นดินลึกปานกลางหรือค่อนข้างเป็นทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูฝน จากการตรวจสอบสมรรถของจังหวัดนครราชสีมา โดยกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว ประกอบด้วยดิน 2 ชุด คือ

          ชุดดินราชบุรี มีประมาณร้อยละ 83 ของพื้นที่ทั้งหมด ดินชุดนี้เป็นดินลึกมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ดินมีความสามารถในการให้น้ำซึมผ่านได้ช้า ดินบนจะมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลในดินชั้นล่าง ดินชุดนี้ ในหน้าฝนใช้ทำนาซึ่งมีความเหมาะสมดีแต่ข้าวอาจได้รับความเสียหายบ้าง เนื่องจากฤดูฝนจะถูกน้ำท่วมโดย ฉับพลันได้ดินชุดนี้ไม่เหมาะกับการปลูกพืชไร่เนื่องจากจะได้รับความเสียหาย จากน้ำท่วมขังดังกล่าวได้ นอกจากนั้นในหน้าแล้งดินยังเหนียวและแข็งเกินไปทำให้ยากต่อการ ทำการเกษตรกรรมดินชุดนี้ จะพบในเขต หมู่ที่ 1,2,3 บ้านท่าลาดขาว หมู่ที่ 4 บ้านโคกกระสังข์ หมู่ที่ 5,6,7 บ้านบึงพระ หมู่ที่ 8,9 บ้านบึงไทย หมู่ที่ 10 บ้านสระพระ และหมู่ที่ 11 บ้านหนองแปลน ดินชุดนี้มีประมาณ 12,968 ไร่

          ดินชุดโคราช มีประมาณร้อยละ 17 ของพื้นที่ทั้งหมด ดินชุดนี้เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างดี ดินมีความสามารถให้น้ำซึมได้เร็วตอนดินบน แต่ในดินล่างน้ำซึมผ่านได้ดีปานกลาง ดินบนมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทา เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินล่างมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง หรือสีน้ำตาลซีด ดินชุดนี้เดิมเป็นป่าเต็ง ไม้รัง ปัจจุบันถูกโค่นลงเพื่อใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ปอ มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งดินมีความเหมาะสมปานกลางเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ โอกาสที่พืชจะได้รับความเสียหายเนื่องจากขาดน้ำมีมาก โดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเนื่องจากดินอุ้มน้ำไว้ไม่ดีเพราะมีเนื้อหยาบ ดินชุดนี้พบในเขต หมู่ที่ 2 บ้านท่าลาดขาว หมู่ที่ 4 บ้านโคกกระสังข์ หมู่ที่ 5,6,7 บ้านบึงพระ หมู่ที่ 11 บ้านหนองแปลน ดินชุดนี้มีประมาณ 2,657 ไร่