องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว

  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาดขาว








แสดงคำถาม เว็บบอร์ด
ไปหน้าคำถามรวม       ตั้งกระทู้ใหม่

ขอเชิญร่วมตอบคำถามค่ะ

เจ้าของคำถาม
คุณ เจ้าหนู
วันที่ 31 ธ.ค. 66
IP 116.212.148.58

หัวข้อคำถาม :

รู้ทัน 10 ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เพื่อการป้องกันและรีบรักษา

รายละเอียด :

รู้หรือไม่ว่า! โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตจากการป่วย และเป็นสาเหตุอันดับ 3 ที่ทำให้เกิดความพิการ ทั้งนี้ จากการสำรวจในปี 2562 และสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2563 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 34,545 คน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีแนวโน้มตัวเลขว่าจะสูงขึ้นทุกปี



โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีสัญญาณหรืออาการเตือนแบบไหนที่ต้องระวัง แล้วใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง รวมถึงเราจะป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ ถ้าเป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร? วันนี้เรามีความรู้ดีๆ มาฝาก



โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ?
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ เซลล์สมองจึงขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตายในที่สุด



ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดจำเป็นจะต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดในทันที และทำการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่มีอาการมีผลต่อจำนวนเซลล์สมองที่ตาย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิตได้



10 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1.โรคหลอดเลือดสมองตีบ กับหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) และ 2.โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีสาเหตุสำคัญจากปัจจัยหลักๆ ของผู้ป่วย 10 ประการ คือ

เป็นโรคความดันโลหิตสูง
เป็นโรคเบาหวาน
เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
เป็นผู้มีไขมันคอเรสเตอรอลสูง
เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด atrial fibrillation ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ
เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
เป็นโรคอ้วน
เป็นผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
เป็นผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เป็นผู้ใช้สารเสพติด ยาหรือสารกระตุ้น


นอกจากนี้ ยังมีโรคบางอย่าง รวมถึงความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ที่ทำให้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเลือดสมองเพิ่มขึ้นได้ด้วย เช่น

โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (severe carotid or vertebral stenosis)
ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical leukoencephalopathy (CADASIL)
มีการเซาะตัวของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (carotid or vertebral artery dissection)


ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าปกติ ?
นอกจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ยังมีกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากคนทั่วไป ดังนี้

เชื้อชาติ : กลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนเชื้อชาติอื่น
เพศ : เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง แต่มักพบว่าเพศหญิงจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเพศชาย
พันธุกรรม : ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
การใช้ฮอร์โมน : ในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือเคยใช้ฮอร์โมนบำบัดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้น


ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองจริงไหม ?
อายุที่มากขึ้น ระบบการทำงานในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพหรือทำงานได้ลดลง จึงมีผลทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย ในโรคหลอดเลือดสมองก็เช่นกัน เมื่อผนังหลอดเลือดเสื่อมลง ความยืดหยุนลดลง ก็ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ง่ายขึ้น โดยพบว่าผู้สูงวัยที่อายุ 55 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนหนุ่มสาว



โรคหลอดเลือดสมองมีอาการอย่างไร ?
โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งส่งผลให้สมองเสียหายจึงทำงานผิดปกติและแสดงอาการออกมา โดยความรุนแรงหรืออาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดไม่รู้เรื่อง และไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น รู้สึกสับสน มึนงง มีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
แขนขาอ่อนแรง ชาบริเวณหน้า แขน ขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียว ร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
ตามัวเฉียบพลัน มีปัญหาด้านการมองเห็น โดยที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาพซ้อน
มึนงง เวียนศีรษะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน ร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน
เดินเซ การทรงตัวผิดปกติ หรือซึมลง (Altered Consciousness)


อาการโรคหลอดเลือดสมองแบบไหนต้องรีบพบแพทย์ ?
หากมีอาการดังที่กล่าวมา ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที แม้ว่าอาการเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และหายไป ในกรณีที่สงสัยว่าตัวผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดที่มีอาการดังกล่าวใช่สัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ แนะนำให้ตรวจเช็กตามแนวทางของ “FAST” ดังนี้

F (Face) ใบหน้า :ให้พยายามยิ้ม แล้วสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวหรือไม่
A (Arm) แขน : ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้งสองข้าง แล้วสังเกตว่าแขนข้างใดข้างหนึ่งตกหรือไม่มีแรงหรือไม่
S (Speech) คำพูด :ให้ลองถามคำถามง่ายๆ ว่าตอบได้หรือไม่ เข้าใจหรือไม่ เสียงตอบชัดหรือไม่
T (Time) ระยะเวลา : หากเกิดอาการเหล่านี้ 1 ใน 3 อย่าง มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 72 % แต่ถ้ามีอาการทั้ง 3 ข้อ จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากว่า 85 % ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือด และลดความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพได้มากขึ้นเท่านั้น


โรคหลอดเลือดสมองรักษาได้หรือไม่ ?
โรคหลอดเลือดสมองสามารถรักษาได้ หากเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ในกรณีที่มีอาการบ่งชี้ แพทย์จะทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อวิเคราะห์แยกโรค เพราะอาจมีโรคที่มีอาการใกล้เคียง อย่างเช่น เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติเป็นต้น



นอกจากนี้จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด รวมถึงตรวจหลอดเลือดแดงที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid doppler ultrasound) และการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiogram) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่จะพิจารณาการตรวจตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย



ในกรณีที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว หมดสติ ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อให้ยาสลายลิ่มเลือด ซึ่งจะช่วยให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดออกซิเจนได้ทัน การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงภาวะทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะมีข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องวินิจฉัยโรคและเริ่มให้ยาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ดังนั้นการพบแพทย์ให้เร็วคือสิ่งสำคัญในการรักษาด้วยวิธีนี้



การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีวิธีอย่างไร ?
โรคหลอดเลือดสมองแบบเส้นเลือดสมองแตกเฉียบพลัน เป็นโรคที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ดังนั้นในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง การเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงได้ และควรดูแลสุขภาพตัวเองร่วมด้วย โดยควรปฏิบัติดังนี้

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอาหารหวานมันเค็ม
ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ไม่เครียด งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางกลุ่มที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองผิดปกติ

 แจ้งลบคำถามนี้

ผู้ร่วมตอบ

เชิญร่วมตอบคำถามได้ที่นี่ค่ะ

เลือกคลิกที่ Icon เพื่อเลือกรูป ลักษณะ สี ประกอบคำตอบ

ชื่อผู้ตอบ :



คำตอบของคุณ :




รหัสลับ :
* กรุณาป้อนหมายเลขที่ท่านเห็นนี้ ในช่องด้านล่าง *